Author Archives: vts

ข้อดีข้อเสียของ 𝐇𝐚𝐫𝐝𝐰𝐢𝐫𝐞 𝐕𝐒 𝐌𝐮𝐥𝐭𝐢𝐩𝐥𝐞𝐱

ข้อดีข้อเสียของ ไฟร์อลามระบบ 𝐇𝐚𝐫𝐝𝐰𝐢𝐫𝐞 𝐕𝐒 𝐌𝐮𝐥𝐭𝐢𝐩𝐥𝐞𝐱 ถ้าแบ่งแยกตามประเภทของตู้ Control Fire Alarm ระบบไฟร์อลามจะมี2แบบด้วยกันคือ – 𝑯𝒂𝒓𝒅𝒘𝒊𝒓𝒆 (𝑪𝒐𝒏𝒗𝒆𝒏𝒕𝒊𝒐𝒏𝒂𝒍) – 𝑴𝒖𝒍𝒕𝒊𝒑𝒍𝒆𝒙 (𝑨𝒅𝒅𝒓𝒆𝒔𝒔𝒂𝒃𝒍𝒆) 𝑯𝒂𝒓𝒅𝒘𝒊𝒓𝒆 (𝑪𝒐𝒏𝒗𝒆𝒏𝒕𝒊𝒐𝒏𝒂𝒍) ซึ่งจะต่ออุปกรณ์ตรวจจับกับอุปกรณ์แจ้งเตือนสัญญาณบนแผงควบคุมภายในตู้ควบคุมเลย และจะแสดงตำแหน่งตรวจจับเป็นแบบ (Group Zone) ได้ไม่เกิน 10 zone ✸ ข้อดี ✸ – มีราคาถูก – เสียค่าติดตั้งถูก – ดูแลรักษาง่าย ✸ ข้อเสีย ✸ – การเพิ่มโซน หรือปรับปรุงระบบมีข้อจำกัดหลายอย่างจึงให้ทำได้ยาก – เหมาะกับสถานที่ขนาดเล็กเท่านั้น (ไม่เกิน 10 โซน) – มีฟังก์ชั่นการทำงานที่น้อย เมื่อเทียบกับประเภท Multiplex – ต่ออุปกรณ์ภายนอกได้ค่อนข้างน้อย – ไม่รองรับระบบเครือข่ายหรือ Network 𝑴𝒖𝒍𝒕𝒊𝒑𝒍𝒆𝒙

เมื่อไหร่ควร 𝑷𝒓𝒆𝒗𝒆𝒏𝒕𝒊𝒗𝒆 𝑴𝒂𝒊𝒏𝒕𝒆𝒏𝒂𝒏𝒄𝒆

𝑷𝒓𝒆𝒗𝒆𝒏𝒕𝒊𝒗𝒆 𝑴𝒂𝒊𝒏𝒕𝒆𝒏𝒂𝒏𝒄𝒆 หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า 𝑷𝑴 เป็นการบำรุงรักษาระบบให้อุปกรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอและใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ เป็นระบบที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสำคัญต่อชีวิต และการที่มีระบบพร้อมใช้งานอยู่เสมอนั้นสำคัญมาก เพราะเหตการณ์ไม่คาดฝันมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและแน่นอนว่าเหตุไฟไหม้ทำให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะเป็นกับชีวิตหรือทรัพย์สิน ถ้าเราได้รับการแจ้งเหตุไวก็สามารถคบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้นั้นมีดังนี้ ➤ ตรวจสอบตู้ควบคุม (Control Panel) ตรวจดูความเรียบร้อย และทำความสะอาด ➤ ตรวจเช็คสายสัญญาณ ระบบไฟฟ้า แบตเตอรี่ และหลอดไฟแสดงสถานะ ➤ การสอบการทำงานของระบบว่าเป็นไปตามค่ามาตรฐานที่เคยเซ็ตไว้หรือไม่ ➤ ทำความสะอาด กับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงานตู้แผนผัง (Graphic Annunciator) ➤ ทำความสะอาด ตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ➤ ทำความสะอาด ตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ➤ ทำความสะอาด ตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) ➤ ทำความสะอาด ตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน

ฝาสีส้มบนอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) คืออะไร?

ก่อนอื่นเลย Smoke Detector คืออะไร  ซึ่งก็คืออุปกรณ์ตรวจจับควันไฟถือเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่มีส่วนสำคัญในการตรวจจับควันไฟและแจ้งเตือนไปยังตู้ควบคุมเพื่อให้เราได้รู้กันตัวตั้งแต่เนิ่นๆก่อนที่จะเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ควบคุมไม่ได้ เคยเงยหน้าขึ้นไปมอง 𝙎𝙢𝙤𝙠𝙚 Detector แล้วเห็นฝาสีส้มๆแบบนี้รึเปล่าคะ (สำหรับบางรุ่นก็เป็นสีฟ้ารึสีอืนๆก็มีค่ะ) สำหรับตึกที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ตึกใหม่แกะกล่อง หรือตึกที่กำลังทำความสะอาดอยู่ก็อาจจะเจอสิ่งนี้ก็เป็นได้ วันก่อนแอดไปบ้านเพื่อนแล้วเห็นสีส้มๆสะดุดตาบนเพดาน(ตัว smoke alarm) ก็ได้แต่ถามเพื่อนว่า “อ้าวว นี่รู้รึเปล่าว่าปิดฝาไว้แบบนี้ตัวเครื่องจะไม่ทำงานนะยูว” เพื่อนได้แต่ยิ้มอ่อนและตอบกลับมาว่า “ไม่รู้” ฝาแบบนี้คือ ⇝ ตัวที่ปิดไว้สำหรับป้องกันฝุ่นหรือสิ่งต่างๆเข้ามายังตัวเซ็นเซอร์ หรือตัวจับสัญญาณนนั่นเอง ⇝ ทางช่างจะปิดไว้ในช่วงกำลังติดตั้ง หรือมีการทำความสะอาดบริเวณใกล้เคียง ⇝ ปิดฝา = เซ็นเซอร์ไม่ทำงาน เพราะฉะนั้น เพื่อนๆอย่าลืมสังเกตุที่บ้าน คอนโด หรือโรงแรมที่ไปพักนะคะ บางทีทางช่างหรือคนทำความสะอาดอาจจะมาปิดไว้ก็เป็นได้ ควรเอาออกเพื่อให้ตัวอุปกณณ์ทำงานได้อย่างเต็มที่ “เพื่อความปลอดภัยต่อเพื่อนๆค่า”

𝑭𝒊𝒓𝒆 𝑺𝒖𝒑𝒑𝒓𝒆𝒔𝒔𝒊𝒐𝒏 หรือระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เหมาะกับสถานที่แบบไหนบ้าง

𝑭𝒊𝒓𝒆 𝑺𝒖𝒑𝒑𝒓𝒆𝒔𝒔𝒊𝒐𝒏 หรือระบบดับเพลิงอัตโนมัติเหมาะกับสถานที่แบบไหนบ้าง ห้องอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ (electronics) ห้องระบบสื่อสาร (telecommunications) ห้องที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ (medical equipment) ห้องเก็บข้อมูล (Data center) ห้องเซิร์ฟเวอร์ (server rooms) ห้องปั๊ม (pump rooms) ห้องเครื่องยนต์ (engine compartments) ห้องเครื่องยนต์และเครื่องจักร (engine and machinery spaces) ห้องหนังสือหรือห้องเก็บงานศิลปะ ( books, art and antiquities) ห้องครัว (Kitchen) หากใครกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้สามารถปรึกษาเราได้ค่ะ

ว่าด้วยเรื่องของ ISO

ISO คือ อะไร ISO เป็นมาตรฐานการวัดคุณภาพองค์กรต่างๆ (quality management systems) เพื่อรับรองระบบการบริหารและการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละประเทศเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก “ISO” ISO นั้นคือ ตัวย่อขององค์กรของการมาตรฐานระหว่างประเทศ ที่มีชื่อเต็มว่า “International Organization for Standardization” มี ชื่อย่อตอนแรกว่า IOS ซึ่งองค์กรเป็นองค์กรระหว่างประเทศชื่อองค์กรก็จะถูกแปลเป็นภาษาของประเทศที่ไปอยู่ แต่พอแปลออกมาเป็นภาษาอื่น ตัวย่อก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น IOS ของอังกฤษ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น เป็น ภาษาใด ทางองค์กรจะใช้ชื่อย่อว่า “ISO” จนปัจจุบัน “9001” 9001 เป็นรหัส ของมาตรฐานหนึ่งใน 19,500 มาตรฐานของ องค์กร ISO โดย ทาง องค์กร ISO ได้ตั้งรหัสของแต่ละมาตรฐานไว้ เพื่อ เรียงลำดับ โดยรหัสหลัก 9000 ได้ถูกเริ่มใช้เป็นครั้งจาก ในปี คศ 1987